☀การแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ☀
4ขั้นตอน ดังนี้
- การวิเคราะห์ปัญหา เป็นการวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบและสามารถนำเอาโปรแกรมเข้าไปช่วยจัดการ ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 5ขั้นตอน
1 วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์ต้องการ หมายถึง การวิเคราะห์ว่าสิ่งที่โจทย์ต้องการนั้นคืออะไรสามารถแยกมาเป็นรายละเอียด
2 วิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องแสดง (output) หมายถึง การกำหนดรูปแบบของผลลัพธ์ที่แสดงผลออกมา
3 วิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องรับเข้า (input) หมายถึง การกำหนดข้อมูลที่จะต้องป้อนเข้าสู่โปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ออกมา
4 วิเคราะห์ค่าตัวแปร หมายถึง การกำหนดค่าที่จะนำมาแทนในการทำงาน
5 วิเคราะห์วิธีการคำนวณ หรือวิธีการทำงาน หมายถึง การพิจารณาขั้นตอนหรือวิธีการทำงานที่ใช้ในโปรแกรม
- การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอน เป็นการนำเอาวิธีจากการวิเคราะห์ปัญหามาเขียน
เป็นภาพหรือสัญลักษณ์โดยนำเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยในการออกแบบโปรแกรม เพื่อให้ทราบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมและง่ายต่อการตรวจสอบ และมีรายละเอียดพอที่จะทำงานต่อไปได้ ซึ่งเครื่องมือที่สนับสนุนการออกแบบโปรแกรมโดยมีขั้นตอนวิธีเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงขั้นตอนการทำงานของระบบทำงานเพื่อให้การเขียนโปรแกรมเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้น
- การดำเนินงานและแก้ไขปัญหา การเขียนโปรแกรมภาษาประกอบด้วย 2 ขั้นตอน
คือ การแปลงขั้นตอนวิธี (algorithm) ที่ได้ ให้เป็นคำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้เลือกไว้ โดยที่การเขียนโปรแกรมจะต้องถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ (syntax) หรือกฎของภาษานั้นๆ ซึ่งตรวจสอบได้โดยนำโปรแกรมไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ และการเขียนรหัสต้นฉบับ (source code)
การเขียนโปรแกรมทุกๆโปรแกรมควรมีระบุข้อความกำกับรายละเอียดของโปรแกรมด้วยเสมอ ซึ่งข้อความเหล่านี้จะเรียกว่า หมายเหตุ (comment) โดยการเขียนหมายเหตุ จะมี 2 ลักษณะ คือ
1 ข้อความที่บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ของโปรแกรมที่เขียนขึ้น รวมถึงชื่อของโปรแกรมด้วยเสมอ ชื่อโปรแกรมเมอร์และวันที่ที่เขียนโปรแกรม โดยการระบุจะเขียนไว้ที่ส่วนบนสุดของพื้นที่การเขียนโปรแกรม
2 ข้อความที่ระบุไว้เพื่ออธิบายความสำคัญของการป้อนแต่ละชุดคำสั่ง ซึ่งส่วยใหญ่จะระบุต่อท้ายชุดคำสั่งภายในโปรแกรมเสมอ
- การตรวจสอบและปรับปรุง เป็นขั้นตอนการทดลองนำโปรแกรมที่เขียนมาทำการทดลองใช้ และ ตรวจสอบข้อผิดพลาด (bug) เมื่อพบข้อผิดพลาด ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำงานแก้ไขข้อผิดพลาดทันทีซึ่งการแก้ไขนี้จะเรียกว่าดีบัก (debug)
♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡