ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับการบริหารการจัดส่งสินค้า
♡
บริษัทศาน ไมเกล (San Miguel corporation) ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารการส่งสินค้า ( Production load Allocation) เพื่อส่งสินค้ากว่า 300 ชนิด เช่น นม เบียร์ และอื่นๆ โดยส่งไปทั่วหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ระบบดังกล่าวช่วยคำนวณความสมดุลระหว่างค่านำส่ง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ กับความถี่ในการนำส่งและปริมาณต่ำสุดในการสั่งสินค้า รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ระบบนี้ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180‚000 เหรียญสหรัฐต่อปี
อ้างอิง : http://katib10.blogspot.com/2008/01/dss.html
♡ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
(Decision
Support System)
เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอนหรือกึ่งโครงสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่มนอกจากนั้นยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
♡ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง
ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนหรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction
processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน
ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980
ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป
ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
คืออะไร
DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ
การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน
ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS
ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์
โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง
และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า
DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์
เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ
จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model)
และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา
ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร
ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการขยายตัวขององค์การธุรกิจช่วงทศวรรษ
1970 ทำให้หลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา
ได้เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีขนาดและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจต่างๆ
ตลอดจนพัฒนาให้ระบบสามารถสื่อสารตอบโต้อย่างฉับพลันกับผู้ใช้
เพื่อช่วยในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
โดยที่แนวความคิดนี้ได้เป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support
Systems) หรือที่นิยมเรียกว่า DSS ในปัจจุบัน
ตั้งแต่เริ่มการพัฒนา DSS มีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายความหมาย
DSS เช่น
Gerrity (1971) ได้ให้ความหมายไว้ว่า DSS คือ
การผสมผสานอย่างเหมาะสมระหว่างความมีเหตุผลของมนุษย์กับเทคโนโลยีสารสนเทศและชุดคำสั่งที่นำมาใช้โต้ตอบ
เพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน ความหมายนี้จะอธิบายภาพรวมเชิงปรัชญา
ซึ่งครอบคลุมลักษณะพื้นฐานของ DSS แต่ยังไม่สามารถให้คำอธิบายลักษณะของปัญหาที่จะต้องแก้ไขโดยอาศัย
DSS เข้าช่วย หรือให้ภาพที่ชัดเจนของ DSS
Kroenke และ Hatch (1994) ได้นำความหมายเดิมมาปรับปรุงและเสนอว่า
DSS คือ
ระบบโต้ตอบฉับพลันที่สนับสนุนโดยคอมพิวเตอร์ซึ่งนำมาช่วยอำนวยความสะดวกในการตัดสินปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ในความหมายนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านวิจารณ์
ว่า DSS สมควรที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาทั้งแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
ไม่เพียงเฉพาะปัญหาแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น
Laudon และ Laudon (1994)
อธิบายว่า DSS คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในระดับบริหารของแต่ละองค์การ
โดยระบบจะประกอบด้วยข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่ซับซ้อน
เพื่อนำมาสนับสนุนการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
ดังนั้นสรุปความหมายของ
DSS
ได้ว่า คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูล
และแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ
เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง
ปกติ DSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้บริหารโดย
1. ประมวลและเสนอข้อมูลการตัดสินใจแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเป็น
แนวทางในการตัดสินใจ
2. ประเมินทางเลือกที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยผู้บริหารในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกให้สอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่สุด
ปกติ
DSS จะช่วยผู้บริหารทดสอบทางเลือกในการตัดสินใจ โดยตั้งคำถาม “ถ้า.....แล้ว....(What….if….)” อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้เทคโนโลยีของ DSS ยังช่วยให้ผู้บริหารมีทางเลือกที่จะตอบสนองต่อปัญหาอย่างหลากหลาย
มิต้องถูกจำกัดโดยทางเลือกที่เป็นไปได้เพียงไม่กี่ลักษณะเนื่องจากข้อจำกัดของระยะเวลา
หรือเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจแทนผู้บริหาร
แต่จะประมวลผลและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจ
ขณะที่ผู้บริหารจะต้องกระทำการตัดสินใจโดยใช้สติปัญญา เหตุผล
ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของตนเองเป็นหลัก
การจัดการกับการตัดสินใจ
เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้จัดการในแต่ละองค์การจะต้องทำกิจกรรมต่างๆ
อย่างมากมาย เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน การติดต่อกับลูกค้า
จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า
แม้กระทั้งในบางครั้งอาจจะต้องเป็นประธานในงานบวชหรืองานแต่งงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
โดยที่
Henri Fayol ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการ (Management
Functions) ไว้ 5 ประการด้วยกัน คือ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การประสานงาน (Coordinating)
การตัดสินใจ (Deciding) และการควบคุม (Controlling)
- การควบคุม
- การวางแผน
- การจัดองค์การ
- การตัดสินใจ
- การประสานงาน
หน้าที่ทางการจัดการ
Mintzberg (1971) ได้กล่าวถึงบทบาททางการจัดการ (Manegerial Roles) ว่าเป็นกิจกรรมต่าง
ที่ผู้จัดการสมควรจะกระทำขณะปฏิบัติหน้าที่ภายในองค์การ โดยที่กิจกรรมเหล่านี้สามารถถูกจัดออกเป็น
3 กลุ่ม คือ บทบาทระหว่างบุคคล (Interpersonal Roles) บทบาททางสารสนเทศ
(Informational Roles) และบทบาททางการตัดสินใจ (Decisional
Roles)